Yield Farm

Yield Farm คือการที่เราไปสร้างหรือเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ platform ต่างๆบนโลก DeFi และเราจะได้รับผลตอบแทนหรือรางวัลมาเป็นเหรียญของ platform นั้นๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมจากการเทรด

วิธีการทำงานของ Yield Farm
วิธีการทำงานของ Yield Farm นั้นจะให้เราไปทำการเพิ่มสภาพคล่องของคู่ที่เราต้องการลงใน Liqudity Pool ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่า Platform นั้นต้องการใช้ Liqudity Pool Token ของ Platform ไหน หลังจากที่เราได้ทำการเพิ่มสภาพคล่องเรียบร้อยแล้วเราจะได้ LP Token มา ซึ่งเจ้า LP Token นั้นจะบอกเราว่าเรามีสัดส่วน หรือส่วนแบ่ง มูลค่าเท่าไหร่ใน Liqudity Pool นั้นๆ หลังจากนั้นให้เราทำการฝากหรือ Staking LP Token ที่ได้มา และรอรับผลตอบแทนหรือรางวัลในรูปแบบต่างๆ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นจะให้เหรียญของ Platform ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า Governance Token นั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ค่าธรรมเนียมจากการเทรดในคู่ Liqudity ที่เราฝากเข้าไปอีกด้วย ซึ่งในบาง Platform ก็จะมี APR หรือ APY บอกว่าผลตอบแทนหรือรางวัลที่เราได้มานั้นจะมีมูลค่าเท่าไหร่

แต่ในบาง Yield Farm นั้นก็มีการให้ฝากแบบ Single Asset คือการฝากแบบข้างเดียวเพื่อรับผลตอบแทน ในกรณีนี้เราจะไม่ต้องเผชิญกับ Impermanet Loss เพราะการฝากเป็นการฝากแบบข้างเดียว แต่เราจะไม่ได้รับค่าธรรมเนียมจากการเทรด

ความเสี่ยงของ Yield Farm นั้นมีอะไรบ้าง
ความเสี่ยงจาก Impermanet Loss หรือ IL
ปกติแล้วการสร้างหรือเพิ่มสภาพคล่องนั้นจะต้องใช้เหรียญเป็นคู่จากระบบของ DEX AMM และใส่เข้าไปใน Liqudity Pool ที่เราต้องการจะฟาร์ม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ เหรียญใดเหรียญหนึ่งที่เราทำการฝากเข้าไปจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Liqudity ที่เราฝากเข้าไปด้วย ทำให้ Token ที่เราถอนออกมานั้นจะไม่เท่าเดิม หรืออาจจะได้รับค่าธรรมเนียมการเทรดเพิ่มเติม ทำให้เหรียญที่เราฝากนั้นเวลาถอนออกมาจะไม่เท่าเดิมเสมอ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Impermanet Loss ได้ที่ https://academy.binance.com/th/articles/impermanent-loss-explained

ความผันผวนของราคา Governance Token
ยิ่ง APR / APY สูง ยิ่งทำให้ความผันผวนของราคา Governance Token นั้นมีมากขึ้น ดังนั้น APR / APY จะพุ่งขึ้นลง ตามราคาของ Governance Token ทำให้เราอาจจะได้รับผลตอบแทนน้อยหรือหรือมากขึ้น และยากต่อการคำนวนจุดคุ้มทุนของเรา

ความเสี่ยงจาก Platform
บาง Platform นั้นอาจจะตั้งใจทำงานให้คนฝากเงินเข้ามาเยอะๆ และสุดท้ายก็ Rug Pull ออกไป แต่ก็ใช่ว่าทุก Platform นั้นจะโกง ก็มีบาง Platform ที่ตั้งใจทำงานและต้องการสร้าง Ecosystem ให้การการใช้งานจริงๆ ก็มี แต่ในกรณีนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาเหรียญ Governance จะไม่มีความผันผวน

ความเสี่ยงจาก Hacker
หลาย Platform นั้นเลือกที่จะ Audit กับเจ้าดังๆเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ เพิ่มความอุ่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน แต่ใครจะรู้วันดีคืนดี อาจจะโดนโจมตีก็ได้ ซึ่งก็มีหลาย Platform ที่มี Audit หลายเจ้า แต่สุดท้ายก็ไม่รอดจากการโดนโจมตีจาก Hacker ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่างๆกับ Ecosystem ของ Platform นั้นๆ บาง Platform อาจจะต้องปิด Project ไปเลยก็มี

เราจะเห็นว่า Yield Farm นั้นมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงินให้ดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น คือกล่าวว่าไม่ต้องเชื่อใจทีม แต่เชื่อใจ Code แค่นั้นก็ว่าได้ เพราะ Code มันจะอยู่บน Blockchain ตลอดเวลา มีความเคลื่อนไหวอะไรเราก็สามารถเห็นหรือรับรู้ได้ ซึ่งแตกต่างจากโลกความเป็นจริงที่เราไม่รู้ว่าเจ้าของ Platform นั้นๆกำลังทำอะไร และทำอะไรอยู่กับเงินของเราบ้าง

Yield Farm ที่น่าสนใจ
Yield Farm ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายเชน แต่เชนยอดฮิตก็จะมี ETH / BSC นอกจากนี้ยังมี C-Chain / Matic ที่กำลังโตในส่วนของฟาร์มยอดฮิตก็จะมี Pancake Sushi Bunny เป็นต้น
โดยสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://debank.com/projects?chain=&tag=amm สำหรับการหาฟาร์มของแต่ละเชนที่เราสนใจ