รูปแบบของ Exchange

รูปแบบของ Exchnage บนโลก Crypto นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทในปัจจุบันคือ Centralized Exchange และ Decentralized Exchange


Decentralized Exchange


Decentralized Exchange นั้นเป็นที่คุ้นหูคุ้นตา Crypto ของคนไทยกันเป็นอย่างดียิ่งในช่วง DeFi กำลังบูมแบบนี้ เช่น uniswap shushiswap pancakeswap เป็นต้น ลักษณะการทำงานของ Decentralized Excnhage เหล่านี้จะเปรียบเสมือนตลาดซื้อขาย โดยเจ้าของ Exchange จะเป็นคนกลางที่คอยจับคู่ออเดอร์ให้ผู้ใช้งาน ภายใน Liqudity Pool ของตนเอง โดยจะให้ผู้ใช้งานนั้นมาทำการเทรดหรือแลกเปลี่ยน Crypto ของตนเองจาก Pool ที่มีอยู่ และเจ้าของ Exchange ก็จะได้รับค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่เกิดขึ้น รวมถึงผู้ที่ให้บริการสภาพคล่อง หรือ Liqudity Provider ใน Pool ของคู่เทรดนั้นๆ ก็จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมในการซื้อขายของ Pool นั้นๆเช่นกัน ซึ่งรูปแบบนี้เรียกว่า AMM หรือ automated market maker นั่นเอง

นอกจากนี้เจ้า DEX แบบ AMM นั้นยังมีการนำไปต่อยอดและพัฒนาเป็นในรูปแบบของ Best Rate Swap หรือ DEX AMM แบบ Aggregated นั่นเอง โดยการทำงานจะเป็นการหาราคาเหรียญที่ดีสุดจากทุกๆ DEX ที่มี Liqudity Pool ในคู่เทรดนั้นๆ เช่นหา eth/usdt จากทุกๆ DEX AMM ที่มีคู่เทรดนี้ว่าที่ไหนถูกสุดก็จะทำการ Swap ให้ในราคาที่ดีที่สุดแก่เรา DEX AMM ที่ยอดฮิตในปัจจุบันก็จะมี 1Inch, Matcha, OpenOcean เป็นต้น

แต่หลายคนนั้นอาจจะไม่รู้ว่ายังมี DEX อีกแบบนึงมีการใช้งานมานานก่อน Uniswap จะเปิดตัวเสียอีก ซึ่งพวกนี้ก็จะคือ IDEX SWTH NEX ซึ่งเราจะเรียกว่ามันเป็น DEX รุ่นบุกเบิก เลยก็ได้ โดยการทำงานของมันนั้นจะคล้ายคลึงกับ CEX ที่เป็นการฝากเงินเข้าไปสู่กระเป๋ากลางที่เป็นกระเป๋าของเราในเว็บ หลังจากนั้นก็สามารถทำการเทรดได้ และถอนออกมาอีกทีผ่านกระเป๋ากลางอันนั้นอีกที เนื่องจากสมัยก่อนนั้น UX/UI ของ DEX เหล่านี้นั้นไม่ค่อยดีและการใช้งานอาจจะมองว่ายุ่งยากสำหรับบางคน บางทีกดโอนไปแล้วไม่โชว์ยอด Balance ต้องรอ Node ซิ้งกับ Wallet ใหม่ หลากหลายปัญหา นอกจากนี้การจะเข้าเทรดเหรียญใดบน DEX จะต้องทำการลิสโดย DEX เหล่านั้น ไม่เหมือน AMM สมัยนี้ที่สามารถจับคู่เหรียญอะไรก็ได้ และยัดเข้า Liqudity Pool ก็สามารถเทรดได้แล้ว จึงทำให้ ความนิยมค่อยๆลดลงมาในที่สุด

กระเป๋าเงินของผู้ใช้งานบน Decentralized Exchange นั้น ผู้ใช้งานจะถือ Private Key ของตนเอง โดยเจ้าของ Exchange นั้นไม่มีสิทธิเข้าถึง Private Key ของผู้ใช้งาน และไม่ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ ไม่จำเป็นต้องสมัครไอดีหรือยืนยันตัวตนใดๆ แต่ก็มีบาง DEX ที่อยู่ภายใต้กฎหมายในบางประเทศที่ต้องทำการสมัครไอดีและยืนยันตัวตน

การใช้งาน Decentralized Exchange ในแต่ละ Exchange นั้นส่วนใหญ่จะใช้ MetaMask ในกรณีที่เป็น ETH หรือ Smart Chain ต่างๆที่ based on evm เช่น Polygon (Matic), BSC (BNB), C-Chain (AVAX) แต่ก็มีบาง Decentralized Exchange ที่เลือกใช้ extension หรือส่วนขยายบน browser ของตนเอง เช่น Kradai Chain ที่ใช้ Kradia Chain Wallet เป็นต้น

 

 

ความเสี่ยงที่อาจจะได้รับจากการใช้ Decentralized Exchange


อาจจะโดน DEX ที่หลอกลวงสามารถดึงเงินของเราออกไปได้ทั้งหมดจากกระเป๋าของเราเอง
การเทรดอาจจะเกิดขึ้นช้าเนื่องจากต้องรอการยืนยันการทำธุรกรรมบน Chain ต่างๆ ถ้าอยากให้ธุรกรรมของเราเสร็จไวก็จะต้องจ่ายค่าแกสเพิ่มขึ้นทำให้บางครั้งนั้นการเทรดหนึ่งครั้งบน DEX อาจจะต้องเสียค่าแกสสูงถึง 300$ เลยก็มี
การเทรดอาจจะล้มเหลวจากการที่เราตั้ง slippage ไว้น้อยเกินไปทำให้ธุรกรรมนั้นถูกยกเลิก และต้องเสียค่าแกสใหม่เพื่อทำการเทรด
การโดน Bot แซนวิชใส่ คือ โดนบอทซื้อปาดหน้า และเททีหลังเราซื้อ เกิดจากการที่เราตั้ง slippage มากเกินไปจนทำให้มีช่องว่างในการทำกำไรของบอท
โหนดของ Chain นั้นล่มทำให้ไม่สามารถยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ Chain ค้างไม่สามารถทำอะไรได้